วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อ

พื่นิคิไม่ซื่อ



           เพื่อนที่เราไว้ใจและเชื่อใจมากที่สุดอาจเป็นคนที่เรารู้จักน้อยที่สุดหากคุณได้อ่านข่าวจากไทยโพสต์เรื่อง "ไอซีทีเตือนภัย แฮกเกอร์ล้วงอีเมลล์ "(http://hilight.kapook.com/view/26744) ซึ่งแฮกเกอร์คนดังกล่าวนั้นคือเพื่อนสนิทที่รู้รหัสในการเข้าอีเมลล์ของคุณ

       ในขณะนี้มีผู้เดือดร้อนอยู่10กว่าราย ที่ถูกการแฮกเข้าข้อมูลอีเมลล์เพื่อใช้ในการก่ออาชญากรรมทางการเงิน หรือหลอกลวงให้ส่งเงินให้ แต่เรื่องนี้ นายวินัย อยู่สบาย  ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นการกลั่นแกล้งจากเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิดที่รู้รหัสผ่านอีเมล์  หรือขโมยรหัสผ่านซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นอีเมล์สาธารณะ โดยมีรูปแบบเข้าไปเปลี่ยนรหสัผ่านโดยที่เจ้าของไม่สามารถเข้าอีเมล์ของตัวเองได้ ทั้งนี้จากการใช้อีเมล์แล้วมีผู้มาเจาะข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ตรวจสอบยาก แต่ก็สามารถดำเนินการเอาความผิดต่อผู้ที่กระทำความผิดได้ หากเจ้าของอีเมล์สามารถยืนยันกับผู้ให้บริการอีเมล์ว่า ได้สมัครโดยใช้ชื่ออีเมล์นี้อย่างถูกต้อง

       ในปัจจุบันนี้ ไม่มีใครไว้ใจได้เลยนะคะ แม้แต่เพื่อนคนสนิทยังไว้ใจให้รับรู้ข้อมูลไม่ได้เลย แต่ดิฉันไม่ขอออกความคิดเห็นในส่วนของการคบเพื่อนนะคะ แต่จะขอออกความคิดเห็นเรื่องการให้ผู้อื่นรับรู้ข้อมูลผ่านสื่อของเรา ซึ่งนั่นคือข้อมูลของเราที่ปรากฏอยู่ตามที่สาธารณะ ได้แก่ social network ทั้งหลาย เช่น facebook twitter hi5 หรือ MSN  เราควรเผยแพร่ข้อมูลแค่บางส่วน และไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลสำคัญๆกับเพื่อน เช่น รหัสบัตรเอทีเอ็ม รหัสการล็อกอินเข้าใช้งาน หรือที่อยู่อาศัย อาจมีผู้ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลนี้มาใช้เพื่อทำร้ายเราได้ หากมีความจำเป็นจริงๆ เราต้องหมั่นตรวจสอบและเปลี่ยนรหัสการเข้าใช้งานอยู่บ่อยๆ พร้อมทั้งหลังการใช้ต้องล็อกเอาท์หรือออกจากระบบเสียก่อน หรือการไม่ป้อนรหัสอัตโนมัติตามหน้าเว็บไซต์ที่มีการล็อกอิน เพราะบางบราวเซอร์จะมีบริการป้อนคำสั่งอัตฺโนมัติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้มาก 


       ในกรณีนี้นายวินัย ได้กล่าวอีกว่า "วิธีการตรวจสอบค่อนข้างยุ่งยาก เพราะผู้ใช้บริการต้องยืนยันข้อมูลแรกที่ได้กรอกลงไปยังใบสมัครเพื่อขอให้ปิดอีเมล์หรือขอรหัสผ่านคืน  แต่ถ้าหากส่งข้อมูลผิดหรือจำไม่ได้ก็แก้ไขลำบาก ส่วนถ้าเป็นการขโมยรหัสผ่านหรือเจาะข้อมูลของอีเมล์กลางหน่วยงานภาครัฐ ทางกระทรวงไอซีทีสามารถดำเนินการเอาความผิดได้ทันที"  เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดการกระทำความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ใน

มาตรา 5
ผู้ใดเข้าถึงในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบ และการเข้าถึงนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 7 
ผู้ใดเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบ อีกทั้งการเข้าถึงนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


เห็นโทษจากการกระทำความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เช่นนี้แล้วก็อย่าลืมเตือนเพื่อนสนิทที่คิดไม่ซื่อของคุณด้วยนะคะ เพราะบางทีเค้าอาจจะคิดไม่ซื่อ โดยที่คุณไม่รู้ตัว